ความรู้คู่สุขภาพ สารสกัดบิลเบอร์รี่

บิลเบอร์รี่..ผลไม้เพื่อการมองเห็น

บิลเบอร์รี่  เป็นไม้พุ่มชนิดยืนต้น มีความสูงจากพื้นดิน 1 ถึง 2 ฟุต พบได้บนภูเขาและป่าในยุโรป หรืออเมริกาตอนเหนือ เราจะพบบิลเบอร์รี่ มากในประเทศแถบยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ในอังกฤษและยุโรปตอนเหนือ มักจะนิยมนำผลบิลเบอร์รี่สุกมาทำเป็นแยมมานานกว่า 100 ปีแล้วนอกจากนี้ยังนำส่วนของใบและก้าน ไปทำเป็นผลแห้งเพื่อทำเป็นผงชาสำหรับดื่มเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย เนื่องจากบิลเบอร์รี่มีคุณค่าทางอาหารสูง ผู้คนจึงได้นำมารับประทานเป็นเวลานานนับศตวรรษแล้ว

ประวัติการใช้บิลเบอร์รี่ในทางการแพทย์ อาจย้อนกลับไปได้ตั้งแต่สมัยยุคกลาง ตั้งแต่นักสมุนไพรวิทยายังไม่ค่อยรู้จักมากนัก จนกระทั่งศตวรรษที่ 16 พบหลักฐานเป็นเอกสารว่ามีการใช้บิลเบอร์รี่ ในการรักษานิวในกระเพาะปัสสาวะ ความผิดปกติเกี่ยวกับน้ำดี เลือดออกตามไรฟัน ไอ และวัณโรคปอด นอกจากนี้ ยังมีการใช้เพื่อรักษาท้องเสีย โรคบิด อาการอักเสบบริเวณปากและลำคอ ปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับบิลเบอร์รี่ มุ่งเน้นไปที่การรักษาความผิดปกติที่ดวงตา ความผิดปกติที่เส้นเลือด และโรคเบาหวาน

“แอนโธไซยานิน” สารต้านอนุมูนอิสระอันทรงพลัง

ย้อนเวลากลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีรายงานว่า นักบินชาวอังกฤษรับประทานแยมบิลเบอร์รี่ ก่อนออกปฏิบัติงาน ทำให้การมองเห็นในตอนกลางคืนดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ หลังจากสิ้นสุดสงคราม นักวิจัยจึงได้ค้นหาสารสำคัญบิลเบอร์รี่ และพบว่ากลุ่มของสารสำคัญนั้นก็คือ “แอนโธไซยานิน” นั่นเอง

แอนโธไซยานิน มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายของอนุมูนอิสระ กระตุ้นการผลิตโรดอปซิน (สารสีที่ช่วยตาปรับการมองเห็นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแสง) ทำให้ผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดเล็กๆ ที่บริเวณดวงตาแข็งแรง เพิ่มการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดทุกระบบทั่วร่างกาย อีกทั้ง ยังทำให้คอลลาเจนแข็งแรงขึ้น

นอกจากนี้ในบิลเบอร์รี่ยังมีสาร “แทนนิน” ที่ช่วยลดอาการอักเสบ และมีฤทธิ์ฝาดสมานอีกด้วย

บำบัดแบบธรรมชาติด้วยบิลเบอร์รี่

ลดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อตา

สำหรับผู้ที่ต้องใช้สายตาอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบัญชี บางครั้งความเร่งรีบอาจทำให้ลืมพักสายตา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อดวงตาเกิดความเมื่อยล้าขึ้นแล้ว บิลเบอร์รี่จะช่วยต่อต้านกับความเครียดที่เกิดขึ้นที่บริเวณดวงตา ลดอาการบวมหรืออักเสบและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่ดวงตา

ทำให้การมองเห็นในที่มืดดีขึ้น

เนื่องจากบิลเบอร์รี่ จะช่วยกระตุ้นการผลิตโรดอปซิน ดังนั้น การรับประทานบิลเบอร์รี่ จะส่งผลให้ความคมชัดในการมองเห็นในที่มืดดีขึ้น และตาปรับความคมชัดในการมองเห็นเมื่อตาโดนแสงจ้าได้เร็วขึ้นด้วย งานวิจัยในมนุษย์ชิ้นหนึ่งแนะนำให้นักบิน คนขับรถหรือเรือ และเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ รับประทานบิลเบอร์รี่ ร่วมกับเบต้าแคโรทีนเพื่อการมองเห็นในเวลากลางคืนที่ดีขึ้น

ป้องกันเบาหวานขึ้นตา

ในยุโรป บิลเบอร์รี่ เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเบาหวานขึ้นตา เพราะบิลเบอร์รี่ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดฝอยในตาเปราะแตกง่าย และแร่ธาตุโครเมียมที่มีอยู่ในบิลเบอร์รี่ จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย นอกจากนี้สารแทนนินที่อยู่ในบิลเบอร์รี่ ยังช่วยเร่งการสมานแผลได้เป็นอย่างดี

ชะลอความเสื่อมของโรคต้อกระจก

ชาวอเมริกันประมาณ 4,000,000 คนมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นเนื่องจากต้อกระจก และส่งผลให้ในแต่ละปีมีชาวอเมริกันอย่างน้อย 40,000 คนต้องตาบอดเนื่องจากโรคต้อกระจก การศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุชาวอิตาลีที่เป็นโรคต้อกระจกระยะแรกจำนวน 50 คนพบว่า การรับประทานบิลเบอร์รี่ ร่วมกับวิตามินอีจะช่วยหยุดยั้งความเสื่อมของโรคได้ถึง 97%

ช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก

ในสารสกัดจากบิลเบอร์รี่มีสารที่จะช่วยลดการอักเสบในช่องปาก และเยี่ยเบื่ช่องปากได้  ซึ่งการอักเสบในช่องปากไม่ว่าจะเหงือก หรือกระพุ้งแก้มนั้นก็คือสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปากนั่นเอง

มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ

สารต่อต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดบิลเบอร์รี่ จะสามารถช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาริ้วรอยก่อนวัยอันควร เร่งการผลัดเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวดูชุ่มชื่นสว่างใส แล้วยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกลูต้าไทโอนทำให้ผิวขาวอมชมพูอย่างเป็นธรรมชาติ

ความปลอดภัย

บิลเบอร์รี่ จัดได้ว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่ง การรับประทานบิลเบอร์รี่ จึงถือว่ามีความปลอดภัยมาก ยืนยันได้จากผลการศึกษาในหนู โดยให้บิลเบอร์รี่ขนาดสูงถึง 400 มิลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่เกิดอาการที่แสดงถึงความเป็นพิษเลย

เอกสารอ้างอิง  

  1. Eye health: preventing cataracts and AMD.  Healthy living publishing 2002.
  2. HealthGate CAM medical review board.  Night vision (impaired). EBSCO. 2003.
  3. Kemper KJ. Bilberry (Vaccinium myrtillus). The Longwood herbal task force. 1999.

Related posts

Leave a Comment