เคล็ด (ไม่) ลับ ชะลอข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปวดข้อเข่า โดยอาการปวดที่เกิดจากภาวะข้อเข้าเสื่อมนี้เกิดจาก แรงที่กดผ่านผิวข้อเข่า ยิ่งถ้าน้ำหนักตัวมาก แรงกดก็จะมากจะทำให้ปวดเวลาลุก ยืน เดิน นั่งเฉยๆ จะไม่ปวด
อาการอักเสบของข้อเข่า เกิดจากการใช้งานหรือมีกิจกรรมที่งอเข่ามากๆ เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ นั่งย่องๆ ขี่จักรยานอานเตี้ย ขึ้นลงบันไดมากๆ ทำให้ผิวข้อเข่ากดดันมาก เกิดการอักเสบของข้อเข่าจะทำให้มีอาการปวดถึงแม้จะไม่ลุกยืน เดิน บางรายอาจมีอาการเข่าบวมร้อน ภาวะกล้ามเนื้อเอ็นรอบเข่าตึงตัว บางรายเมื่อข้อเข่าอักเสบจะงอเข่าไว้หรือเดินมาก ทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ เข่าตึงตัว เกร็ง ทำให้มีอาการปวดได้
การดูแลรักษาควรทำอย่างไร ?
1. ลดแรงกดที่ผ่านผิวข้อเข่าโดย
– ลดน้ำหนักตัว ถือเป็นหัวใจของการรักษาก็ว่าได้ ผู้ป่วยบางรายข้อเข่าเสื่อมมาก แต่น้ำหนักน้อย อาจทำให้ไม่มีอาการปวดได้
– ใส่อุปกรณ์เสริมพยุงข้อเข่า
– ใช้เครื่องมือช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า
2. ลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น
– ใช้ยาลดการอักเสบ
– ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดในระยะอักเสบมาก บวมร้อน ควรประคบเย็น
– พักเข่า ให้มากขึ้นโดยให้เดินน้อยลง ในระยะที่มีอาการอักเสบ
3. ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อเข่า
– ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด
– ใช้ประคบอุ่นช่วยให้ลดอาการตึงกล้ามเนื้อ
– นวดและยืดกล้ามเนื้อ
4. ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง โดย
– หลีกเลี่ยงการเดินมากๆ ขึ้นลงบันไดมาก นั่งย่องๆ ขัดสมาธิ พับเพียบ เพราะจะเพิ่มแรงเครียดในข้อเข่าทำให้เข่าอักเสบปวดได้
– ให้บริหารกล้ามเนื้อ ที่จะช่วยประคองข้อเข่า
อาหารเสริมธรรมชาติบำบัด ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน และกระดูกเสื่อมก่อนวัย จากผลวิจัยทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับน้ำมันงาดำ ในการรักษากระดูกและการเสริมสร้างกระดูกเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นพระเอกในการรักษาโรคนี้เลยทีเดียว เพราะในน้ำมันงาดำมีแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อสุขภาพของกระดูก จึงได้มีการสนับสนุนผู้ป่วยโรคกระดูกให้กินน้ำมันงาดำ เพื่อรักษาสุขภาพกระดูก
ซึ่งได้มีการทำการวิจัยในผู้ป่วยกระดูกพรุน หรือกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งผลวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มสารแอนติออกซิเดนท์ แมกนีเซียม และแคลเซียมให้กับผู้ป่วย ซึ่งในน้ำมันงาดำนั้นมีสารเหล่านี้ประกอบอยู่สูงมาก อีกทั้งยังมีสารสำคัญอย่างสาร ‘เซซามิน‘ ซึ่งทำให้กระดูกสามารถจับตัวได้ดีขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีสภาวะกระดูกพรุนลดน้อยลงได้นั่นเอง