ความรู้คู่สุขภาพ

“ปวดประจำเดือน” แบบไหนต้องไปหาหมอด่วน!!!

ปวดประจำเดือน ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงแทบทุกคนจะต้องเจอในชีวิต !!! แล้วหากปวดมากๆ ต้องทำอย่างไร? ปวดแค่ไหนควรไปหาหมอ? อาการปวดประจำเดือนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea)

เป็นอาการปวดประจำเดือนแบบปกติ โดยจะปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และหงุดหงิดร่วมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ออกมามากผิดปกติ กระตุ้นให้มดลูกมีการบิดเกร็งตัว และจะรู้สึกปวดในระยะก่อนมีประจำเดือน 2-3 ชั่วโมง ตลอดจนช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน อาการปวดหน่วงๆ ก็จะยังคงรู้สึกอยู่ อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้จะมีอาการมากสุดในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้อาการปวดประจำเดือนจะค่อยๆ ลดลง บางรายอาจหายป่วยหลังมีบุตรแล้ว และส่วนมากอาการปวดประจำเดือนชนิดนี้ก็จะไม่พบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่แต่อย่างใด

2. ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)

ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิจะมีอาการปวดท้องค่อนข้างหนัก บางรายอาจมีอาการท้องเสีย เหงื่อออก ตัวเย็น มือ เท้าเย็น หรือหน้ามืดเป็นลมได้ อาการปวดประจำเดือนชนิดนี้มักเกิดกับสาววัย 25 ปีขึ้นไป โดยจะรู้สึกปวดประจำเดือนแบบนี้ครั้งแรก ทั้งๆ ที่ไม่เคยปวดประจำเดือนขนาดนี้มาก่อน ซึ่งคนที่รู้สึกปวดประจำเดือนหนักๆ ในวัยนี้ มักตรวจพบความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ด้วย เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หรือปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้เชื่อว่าอารมณ์มีส่วนเสริมความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนทั้ง 2 ชนิด เช่น พบว่าผู้มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือมีความเครียดจะมีอาการปวดรุนแรงมากกว่าผู้ที่มีอารมณ์ดี

ปวดประจำเดือนแบบไหนเรียกว่าปกติ

– ปวดประจำเดือนไม่มาก แค่พอรำคาญ แต่ไม่ปวดประจำเดือนจนรู้สึกทรมานและทนไม่ไหว

– อาการปวดประจำเดือนที่เป็นไม่ถึงกับต้องรับประทานยาแก้ปวด

– อาการปวดประจำเดือนเกิดขึ้นแค่ 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน จากนั้นอาการปวดประจำเดือนจะหายได้เอง

– บางรายอาจปวดประจำเดือนมากทุกครั้งที่ประจำเดือนมา แต่ถ้ากินยาแก้ปวดอาการจะทุเลาลงจนใช้ชีวิตได้ปกติ

ปวดประจำเดือนแบบไหนต้องไปหาหมอ

– ปวดประจำเดือนมาก โดยช่วงที่ปวดประจำเดือนแรกๆ อาจพอทนไหว แต่ต่อมาอาการปวดประจำเดือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกเดือน และมักจะรู้สึกปวดรุนแรงในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน

– รู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงจนต้องรับประทานยาแก้ปวดมากกว่าวันละ 1 ครั้ง อาการปวดประจำเดือนถึงจะทุเลาลง

– ปวดประจำเดือนรุนแรงขึ้นจนยาแก้ปวดเอาไม่อยู่ และต้องไปพบแพทย์ทุกครั้งที่มีประจำเดือน

– ปวดประจำเดือนรุนแรง โดยอาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม ท้องเดิน และรู้สึกปวดท้องจนไม่สามารถลุกไปทำอะไรได้ ต้องกินยาแก้ปวดและนอนพักสักระยะจึงจะหาย

– มีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อยข้างขวา ติดต่อกันนานกว่า 6 ชั่วโมง มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย รวมทั้งหากเกิดการกระเทือน หรือกดถูกบริเวณนั้นจะมีอาการเจ็บปวด

– ปวดและกดเจ็บตรงบริเวณท้องน้อย ร่วมกับมีอาการไข้สูง อาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย

– ปวดบิดเกร็งตรงบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง และมักมีอาการปวดร้าวลงมาที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน

– ปวดประจำเดือนมาก ร่วมกับมีเลือดออกกะปริบกะปรอย (ประจำเดือนมากกว่ากว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งเลือดจะออกน้อย) หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ

ดูแลและบรรเทาอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผลด้วย “เซซามิน และ เฮสเพอริดิน” สุดยอดอาหารเสริมจากธรรมชาติ ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยดูแลเรื่องไมเกรน หลับไม่สนิท ภูมิแพ้ ปวดประจำเดือน เบาหวาน ความดัน และช่วยลดไขมันที่สะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

ปวดบ่อยๆ แบบนี้ เกี่ยวกับ “มะเร็ง” ด้วยหรือไม่

อาการปวดนั้นสามารถบอกได้ถึงความผิดปกติภายใน เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช็อกโกแลตซีสต์, เนื้องอกมดลูก, ถุงน้ำรังไข่ หรือ พังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นต้นแม้ว่าความผิดปกติที่เราเอ่ยถึงไปนั้น อาจจะไม่ได้บ่งชี้ถึง “มะเร็ง” แต่ความผิดปกติบางอย่าง เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ก็มีโอกาสกลายเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคตได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงควรไปพบแพทย์ เพราะความผิดปกติเหล่านี้สามารถรักษาได้!

ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน… แต่เกิดมีอาการตอนอายุ 40 แบบนี้อันตรายหรือไม่?

อาการปวดท้องประจำเดือนในวัยรุ่นนับว่าเป็นเรื่องปกติ และอาการจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ในทางกลับกัน หากคุณไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อนหรือเคยปวดแต่ไม่มาก แล้วจู่ๆ อาการก็ทวีความรุนแรงเมื่ออายุมากขึ้น นี่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า “คุณอาจมีโรคซ่อนอยู่”

ยิ่งเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยครั้ง…. ยิ่งลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้

สำหรับใครที่น้องสาวร้องไห้หนักมากอาจไม่น่าเป็นห่วงซักเท่าไหร่ แต่สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนมาไม่มาก เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีเราก็ควรรักษาความแห้งสะอาด โดยการเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4 ชั่วโมงโดยประมาณ ไม่จำเป็นต้องรอจนผ้าอนามัยไร้พื้นที่ว่าง การเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ อย่าเพิ่งคิดว่าเปลือง เพราะหากคุณเกิดการติดเชื้อแล้วล่ะก็ ไม่เพียงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นหลายเท่าตัว แต่ยังต้องทรมานกับอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการติดเชื้อนี้อีกด้วยนะ