ความรู้คู่สุขภาพ

“ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน” ยากันล้ม : คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

รู้หรือไม่ว่า ในปีหนึ่งมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการหกล้มไม่ต่ำกว่า 1,000 คน!!

การหกล้มหนึ่งครั้ง คุณอาจไม่ได้แค่เจ็บตัว

แต่อาจเจ็บใจ (ที่น่าจะรู้วิธีป้องกันก่อน)

และอาจเจ็บลามไปถึงคนใกล้ตัว ที่ต้องเข้ามาช่วยดูแล

จะดีแค่ไหน ถ้าเรามี “ยากันล้ม” ที่มีสรรพคุณเป็นคู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

:: ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน ::

ยากันล้ม : คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

เมื่อป่วยหรือล้มเจ็บ เรามักคาดหวังว่าจะได้รับยาจากหมอ ที่ช่วยรักษาให้หายจากโรคแบบทันทีทันใด แต่จริงๆ แล้ว ‘ยา’ ที่สำคัญกว่าคือการดูแลป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเหล่านั้นและไม่ให้โรคพัฒนาจนถึงขั้นรักษาไม่หาย

หลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดโรค รวมถึง ‘การหกล้ม’ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ยาขนานนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้ม และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และมีอายุยืนยาว

สะดุดนิด…ชีวิตเปลี่ยน

รู้หรือไม่? แต่ละปีมีผู้สูงอายุหกล้มเสียชีวิตเป็นครึ่งหนึ่งของทุกกลุ่มอายุ! หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 1,000 คนเลยทีเดียว
ผู้หญิงมีโอกาสหกล้มสูงกว่าผู้ชายถึง 1.5 เท่า!

การบาดเจ็บจากการหกล้มมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการฟกช้ำ แผลถลอก กระดูกหัก และรุนแรงถึงเสียชีวิต!
ที่มาข้อมูล : “สถานการณ์การพลัดตกหกล้มใน ผู้สูงอายุ” จากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรบควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ทำไมผู้สูงอายุถึงหกล้ม?

ร่างกายและความสามารถที่ลดลง

เช่น การมองเห็น การเดิน การทรงตัว การรับรู้ และการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อ รังต่างๆ เช่น กระดูกพรุน สมองเสื่อม เบาหวาน หลอดเลือดสมอง เป็นต้น

พฤติกรรม

เช่น ขาดการออกกำลังกาย สวมใส่รองเท้าและเสื้อผ้าที ่ไม่พอดี ดื่มแอลกอฮอล์ที่เกินพอดี และใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลั ดตกหกล้ม (ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต และยาขับปัสสาวะ)

สิ่งแวดล้อม

เช่น พื้นและบันไดลื่น พื้นต่างระดับ ไม่เรียบ แสงสว่างไม่เพียงพอ มีสิ่งขีดขวาง ไม่มีราวจับบริเวณบ้าน บันได และห้องน้ำ

เศรษฐกิจและสังคม

เช่น รายได้ ระดับการศึกษา สัมพันธภาพในสังคม และการเข้าถึงการบริการสุขภ าพน้อย

ล้มคนเดียว เจ็บจี๊ดทั้งบ้าน!!

1. นายเจ็บ ฉันเจ็บ

ล้มครั้งเดียวอาจส่งผลต่อสุ ขภาพและการใช้ชีวิตของคนรอบ ข้างเจ็บต่อไปตามๆ กัน ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถดูแล ตัวเองได้เองอีก อาจส่งผลให้ลูกหลานหรือญาติ พี่น้องต้องลาออกจากงานเพื่ อมาดูแลหรือจ้างผู้ดูแลพิเศ ษให้

การบาดเจ็บจากการหกล้มทำให้ ต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าการ บาดเจ็บจากสาเหตุอื่น ยกตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บจากกระดูกสะโพกหั ก ผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาล นานถึง 20 วัน ถ้าผู้ป่วยยิ่งมีอายุมากและ มีโรคประจำตัวมีความเป็นไปไ ด้ที่ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเ วลานานหรือนอนติดเตียง และต้องมีผู้ดูแลไปตลอดทั้ง ชีวิต

2. เจ็บ(กระดอง)ใจ

เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระ ดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก บางส่วนต้องใช้รถเข็นไปตลอด  ส่งผลให้ผู้สูงอายุสูญเสียค วามสามารถในการดูแลตนเอง และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา มีภาวะสับสน มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวทำ ให้เกิดอาการซึมเศร้าตามมา

สำหรับคนที่เคยหกล้มแต่ไม่ไ ด้รับบาดเจ็บรุนแรง อาจเกิดอาการวิตก หวาดกลัวการหกล้มซ้ำ ทำให้ไม่กล้าใช้ชีวิตตามปกต ิ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านอื่ นๆ ลดลงไปด้วย

3. เจ็บกระเป๋า

ผู้สูงอายุหกล้มครั้งนึงอาจ ต้องจ่ายค่ารักษาสูงถึงแสนก ว่าบาทต่อคนต่อครั้ง หากรวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่ เกิดขึ้น เช่น รายได้ที่ครอบครัวต้องเสียไ ป เมื่อต้องหยุดงานมาดูแล หรือรายจ่ายที่เพิ่มหากต้อง จ้างคนดูแล ประมาณการว่าอาจสูงถึง 1,200,000 บาท ต่อคนต่อปี!! …รู้สึกกระเป๋าเบาไปในพริ บตา

แล้วอะไรคือยาที่จะป้องกันก ารหกล้มในผู้สูงอายุ?

1. กันล้มด้วยการออกกำลังกาย

เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัว และการเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการหก ล้มในผู้สูงอายุ

2. กันล้มด้วยการปรับบ้าน

ช่วยลดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอ ดภัย มาปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับ ผู้สูงอายุ เพื่อดูแลและมอบ ‘ยากันล้ม’ ในการป้องกันร่างกายให้ห่าง ไกลการหกล้ม

ยากันล้มตัวที่หนึ่ง

วิธีใช้ : ออกกำลังกันล้ม

(ข้อควรระวัง : ท่าที่ไม่สามารถทำได้ สามารถข้าม หรือลดจำนวนตามความเหมาะสม)

ท่ายืดกล้ามเนื้อและฝึกควา มยืดหยุ่นของข้อ

(แต่ละท่าทำซ้ำ 10 ครั้ง)

ท่าฝึกความแข็งแรงของกล้าม เนื้อ

(แต่ละท่าทำซ้ำ 10 ครั้ง)

พร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย!

ท่าฝึกการเดินและการทรงตัว ระดับง่าย

(แต่ละท่าทำซ้ำ 10 ครั้ง)

ท่าฝึกการเดินและการทรงตัว ระดับยาก

(แต่ละท่าทำซ้ำ 10 ครั้ง)

ยากันล้มตัวที่สอง

วิธีใช้ : ปรับบ้านช่วยดูแลผู้สูงอายุ

ปรับห้องนอน

  1. 1. เตียงนอนควรนั่งแล้วเท้าเหย ียบพื้นได้ แต่ความสูงของเตียงก็ไม่ควร ต่ำเกินไป
  2. 2. ฟูกไม่นิ่มหรือแข็งเกินไป ฟูกชนิดที่วัสดุเป็นส่วนผสม ระหว่างยางพาราและสปริงจะมี ความนิ่มและแข็งที่ไม่มากเก ินไป ฟูกที่เป็นฟองน้ำหรือฟองอาก าศ จะเหมาะกับผู้สูงอายุที่เป็ นแผลกดทับ ฟูกแบบลอน จะเหมาะกับผู้สูงอายุที่เป็ นอัมพาต อัมพฤกษ์
  3. 3. เก้าอี้มีพนักพิงและที่วางแ ขน ขาเก้าอี้ไม่ควรเป็นแบบล้อเ ลื่อน และความสูงของเก้าอี้ควรอยู ่ในระดับที่เข่าวางตั้งฉากก ับพื้นได้
  4. 4. เฟอร์นิเจอร์ไม่มีเหลี่ยมมุ ม หากมีควรหาเทปแปะขอบมุมไว้
  5. 5. มีแสงสว่างเพียงพอ สามารถนำทางได้ในที่มืด
  6. 6. สวิตช์เปิดปิดไฟ ควรอยู่ใกล้หัวเตียงที่มือส ามารถเอื้อมถึง

ปรับห้องน้ำ

  1. 1. ระยะทางระหว่างห้องน้ำและห้ องนอนไม่ควรไกลกันเกิน 3 เมตร ภายในควรแยกพื้นที่เปียกและ พื้นที่แห้ง หากไม่สามารถแยกพื้นที่ได้ ควรมีม่านกั้นห้องน้ำระหว่า งส่วนเปียกและแห้ง
  2. 2. พื้นห้องน้ำไม่ลื่น ควรมีลวดลายบนกระเบื้อง ใช้วัสดุเนื้อหยาบ หรือเป็นกระเบื้องแผ่นเล็กจ ะช่วยเพิ่มแรงเสียดทานในการ เดิน
  3. 3. โถส้วมเป็นแบบนั่งห้อยเท้า ลักษณะการกดน้ำให้เป็นคันโย กดีกว่าการเป็นปุ่มกดน้ำ
  4. 4. ก๊อกน้ำเป็นแบบก้านโยก ก้านกด หรือก้านหมุน
  5. 5. ราวจับควรมีจับตลอดทางเดินไ ปห้องน้ำ และติดตั้งใกล้โถส้วม ความสูงระดับที่พอเหมาะกับก ารใช้งานของผู้สูงอายุ

ปรับพื้นบ้าน และอุปกรณ์

  1. 1. ไม่วางของเกะกะบนพื้น เช่น สิ่งของ สายไฟ เพราะจะทำให้สะดุดหกล้มได้
  2. 2. พื้นไม่ลื่น เรียบ เสมอ ไม่ต่างระดับ
  3. 3. เสื่อ พรม ผ้ายางควรใช้แบบกันลื่น
  4. 4. ลูกบิดประตูเป็นแบบก้านโยก
  5. 5. บานประตูเป็นแบบเลื่อนที่มี ราวจับบานประตู
  6. 6. สวิตช์และปลั๊กไฟควรติดตั้ง จากพื้นอย่างน้อย 45 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 90 เซนติเมตร และสวิตช์มีขนาดใหญ่ 5-7.5 เซนติเมตร

ปรับขั้นบันได

  1. 1. ไม่วางของเกะกะบนขั้นบันได
  2. 2. มีแสงสว่างเพียงพอ สามารถนำทางได้ในที่มืด
  3. 3. มีราวจับ ยืดเกาะ
  4. 4. สวิตช์เปิดปิดไฟทั้งชั้นบนแ ละล่าง

ปรับห้องครัว

  1. 1. ของใช้ที่ใช้บ่อยไม่วางบนชั้นเหนือศีรษะ ควรวางให้หยิบง่าย วางในระดับเอว
  2. 2. ตู้เก็บภาชนะหรือเครื่องปรุ ง ควรใช้ตู้แบบบานเลื่อน

กันล้มแบบมีสไตล์

นอกจากการออกกำลังกาย และปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน

ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันการหกล้ม แบบชิคๆ คูลๆ

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรองเท้ าที่มีรูปร่างหน้าตาไม่ชวนส ะดุดพาเราหกล้ม หรือจะเป็นอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่จะช่วยพยุงร่างกายเพื่อใ ห้เดินได้ดีขึ้น มั่นคงขึ้น

โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญ หาในการทรงตัว และมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเ นื้อแขน
แต่ถ้าเกิดพลาดหกล้มขึ้นมาล ่ะ! จะลุกอย่างไรให้ปลอดภัย?

อันดับแรกไม่ควรตื่นตระหนก ทั้งคนล้มและญาติ ควร ‘ตั้งสติ’ ให้ดี ประเมินอาการบาดเจ็บที่เกิด ขึ้นว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน

หากบาดเจ็บมาก อย่าพยายามลุกเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากคนใกล ้ชิด

หากรู้สึกว่าบาดเจ็บไม่มากแ ละคิดว่าลุกขึ้นเองได้ให้หา ที่ยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงเป็ นตัวช่วยพยุงให้ลุกขึ้น

————————– —-

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมแชร์ “ยากันล้ม” ให้กับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือคนรู้จักที่เรารักกันนะ

ที่มาข้อมูล :

ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย (มสผส.)

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุไทย (มสผส.)

สถานการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข