โรคกระดูกพรุน “มฤตยูเงียบ” ที่มองไม่เห็น!!!
เรื่องจริง! ในวงการแพทย์ที่น่าตกใจเมื่อพบผู้ป่วยก็คือ หลายคนกว่าจะรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” ก็ต่อเมื่อกระดูกหักเสียแล้ว!!! บางคนนึกว่าแค่ปวดหลัง ปวดข้อมือ ปวดตามข้อ สะโพกธรรมดาๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่!!!
สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 ซม.) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้าๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก
โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยโรคนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก หรือข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย
แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไปเพียงแค่มีแรงกระแทกเบาๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอจาม หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง
ส่วนอาการที่พบได้คือปวดหลัง ซึ่งเกิดจากกระดูกบางมาเป็นเวลานาน อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีกระดูกสันหลังยุบตัว และจะทำให้หลังค่อมและเตี้ยลงได้ นอกจากกระดูกสันหลังแล้ว กระดูกอื่นๆ ที่ถูกทำลายมาก คือ ข้อมือและสะโพก
การเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนครั้งแรกนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดกระดูกหักครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ตามมา ซึ่งนำมาซึ่งความพิการและการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ผู้ชาย เสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนสูงกว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้หญิง เสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนสูงกว่า โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และรังไข่รวมกัน
หากกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน อาจส่งผลร้ายตามมา คือ
- 20% มักเสียชีวิตภายใน 1 ปี
- 30% พิการถาวร
- 40% ต้องใช้เครื่องช่วยพยุงในการเดิน
- 80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนก่อนกระดูกหัก
ผู้หญิงในวัยทองควรดูแลตัวเองให้มากกว่าปกติ ควรลดความเครียด ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น งาดำ กุ้งแห้ง ถั่วแดง ผักคะน้า ฯลฯ ซึ่งเป็นสารหลักในการสร้างเนื้อกระดูก ทั้งนี้ ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน การเสริมแคลเซียมไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ช่วยยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกเท่านั้น
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง จะช่วยลดการสลายของแคลเซียมจากกระดูกได้ด้วย นอกจากนี้ ควรงดการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และพยายามป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้ม เป็นต้น
หากในแต่ละวัน ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และวิตามินดีที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมทำให้มวลกระดูกและเนื้อเยื่อแข็งแรงได้ครบถ้วนเพียงพอ