“ฉายรังสี” มะเร็งประเภทต่างๆ ต้องมีเงินอย่างน้อยเท่าไหร่ ?
เปิดเช็คลิสต์ราคา “ฉายรังสี” มะเร็งประเภทต่างๆ ต้องมีเงินอย่างน้อยเท่าไหร่ ?
31 พฤษภาคม วันงดสุบบุหรี่โลก ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่เราจะตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่หนึ่งมวน เพราะอย่างที่รู้กันว่าบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตและเสียค่ารักษาก้อนมหึมา และนอกเหนือไปจากมะเร็งปอดแล้ว ยังมีโรคมะเร็งที่พบบ่อยอีก 9 รายการที่มักพบเจอกัน และนี่คือค่าใช้จ่ายในการฉายรังสีที่ยังไม่รวมค่ารักษาอื่นๆ เช่น ห้องพักหรือค่าบริการพยาบาล ที่อาจบานปลายกว่านี้ไปอีกหลายเท่า
หมายเหตุ:
อัตราข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงและเป็นอัตราประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการ สำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อย
ขอบคุณข้อมูลจาก: Line Today และ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อัพเดทค่าใช้จ่ายรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
แม้การแพทย์ในปัจจุบันจะสามารถรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ แต่ก็ยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งว่า จะต้องเตรียมใจไว้ให้ดี และเตรียมค่าใช้จ่ายโรคมะเร็งไว้ให้พร้อม เหตุผลเพราะโรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความซับซ้อนทางการรักษา และมีลำดับขั้นของอาการที่แตกต่างกันตามแต่กรณี จึงไม่มีใครสามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะหายเมื่อไหร่ หรือจะต้องใช้เวลา และค่ารักษาโรคมะเร็งมากเท่าไหร่
ดัชนีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายโรคมะเร็งนั้นสูงมาก ก็คือข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ระบุว่าระหว่างปีพ.ศ.2559-2561 มีการเบิกจ่ายค่ารักษาโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้ารับรักษาอย่างต่อเนื่อง 4,117,504 ครั้ง มีการชดเชยค่ารักษากว่า 26,679 ล้านบาท เฉพาะปี 2561 เพียงปีเดียวมีการชดเชยค่ารักษาถึง 9,557 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก
เหตุที่ค่าใช้จ่ายโรคมะเร็งสูงส่วนหนึ่งน่าจะมาจากขั้นตอนการรักษาที่มีความซับซ้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ และโดยส่วนมากการรักษามักจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ทำให้ค่าใช้จ่ายโรคมะเร็งสูงกว่าค่าใช้จ่ายโรคอื่น ๆ เพราะแค่การรักษาด้วยวิธีการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวก็ถือไม่น้อยแล้ว ดูได้จาก
ค่ารักษาโรคมะเร็งยอดฮิตอัพเดทล่าสุดจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่นำมาให้ดูกัน
1. มะเร็งศีรษะและลำคอ
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี 8,500 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 2 ขวด 1,500 บาท, ค่าหน้ากาก 6,000 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×35 ครั้ง) 87,500 บาท, ค่า CBCT (1 ครั้ง/สัปดาห์) 12,600 บาท, MRI Simulation 8,000 บาท
รวมเป็น 130,100 บาท
– เทคนิค IMRT/VMAT ค่า CT Simulation 8,500 บาท, MRI Simulation 8,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 2 ขวด 1,500 บาท, ค่าหน้ากาก 6,000 บาท, ค่าคำนวณ 10,000 บาท, ค่าฉายรังสี (4,000×35 ครั้ง) 140,000 บาท, ค่า CBCT 12,600 บาท
รวมเป็น 186,600 บาท
2. มะเร็งเต้านม
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี 8,500 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×25 ครั้ง)
62,500 บาท, Boote electron 3,500 บาท, ค่า port film 4,000 บาท
รวมเป็น 84,500 บาท
– เทคนิค 2 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี (Acuity Simulation) 2,000 บาท, ค่าคำนวณ 800 บาท, ค่าฉายรังสี (2,400×25 ครั้ง) 60,000 บาท, Boote electron 3,500 บาท, ค่า port film 3,000 บาท
รวมเป็น 69,300 บาท
3. มะเร็งปอด
– เทคนิค IMRT/VMAT ค่าจำลองการฉายรังสี 8,500 บาท, ค่าเอ็กซเรย์ด้วยเครื่องควบคุมการหายใจ (35 ครั้ง) 25,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 10,000 บาท, ค่าฉายรังสี (4,000×35 ครั้ง) 140,000 บาท, ค่า CBCT 12,600 บาท
รวมเป็น 197,600 บาท
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี 8,500 บาท, ค่าเอ็กซเรย์ด้วยเครื่องควบคุมการหายใจ (35 ครั้ง) 25,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×35 ครั้ง) 87,500 บาท, ค่า CBCT 12,600 บาท
รวมเป็น 141,100 บาท
4. มะเร็งปากมดลูก
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท, MRI Simulation 8,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×28 ครั้ง) 70,000 บาท, ค่าใส่แร่ 3 ครั้ง 17,400 บาท, MRI Brachytherapy 24,000 บาท, ค่า CBCT 9,000 บาท
รวมเป็น 144,400 บาท
5. มะเร็งต่อมลูกหมาก
– เทคนิค IMRT/VMAT ค่าจำลองการฉายรังสี 8,500 บาท, MRI Simulation 8,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 10,000 บาท, ค่าฉายรังสี (4,000×35 ครั้ง) 140,000 บาท, ค่า CBCT 14,400 บาท
รวมเป็น 182,400 บาท
6. มะเร็งสมอง
– เทคนิค IMRT/VMAT ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท, MRI Simulation (30 ครั้ง) 8,000 บาท, ค่าหน้ากาก 6,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 10,000 บาท, ค่าฉายรังสี (4,000×30 ครั้ง) 120,000 บาท, ค่า CBCT 10,800 บาท
รวมเป็น 164,800 บาท
7.มะเร็งหลอดอาหาร
– เทคนิค VMAT ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท, ค่าฉีดรังสีทึบแสง 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 10,000 บาท, ค่าฉายรังสี (4,000×30 ครั้ง) 120,000 บาท, ค่า CBCT 10,800 บาท
รวมเป็น 150,800 บาท
8. มะเร็งลำไส้ใหญ่
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท, MRI Simulation (28 ครั้ง) 8,000 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×28 ครั้ง) 70,000 บาท, ค่า CBCT 9,000 บาท
รวมเป็น 103,000 บาท
9. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
– เทคนิค 3 มิติ ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท, ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท, ค่าหน้ากาก 6,000 บาท, ค่าคำนวณ 6,000 บาท, ค่า CBCT (2 ครั้ง/สัปดาห์) 18,000 บาท, ค่าฉายรังสี (2,500×28 ครั้ง) 70,000 บาท
รวมเป็น 110,000 บาท
หมายเหตุ :
(1) เทคนิค 3 มิติ คือการวางแผนการรักษาในระบบ 3 มิติ ด้วยการกำหนดขอบเขตการรักษาจากภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้การวางแผนการฉายรังสีมีความถูกต้องมากขึ้น
(2) IMRT ( Intensity Modulated Radiation Therapy) การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ให้รังสีเข้าหลายทิศทาง ทำให้อวัยวะโดยรอบได้รับรังสีน้อยกว่า
(3) VMAT (Volumetric Modulated Arc TherapyIntensity) เทคนิคใหม่ล่าสุดของการฉายรังสีซึ่งพัฒนามาจากการฉายรังสีแบบ IMRTกับ Dynamic Arc เป็นการฉายรังสีแบบปรับความเข้มของรังสีพร้อมกับลำรังสีที่หมุนได้รอบตัวผู้ป่วย
นี่เป็นแค่ค่าฉายรังสีสำหรับมะเร็งที่พบบ่อยเท่านั้น ยังไม่รวมค่ารักษาในส่วนอื่น ๆ แต่ก็คงทำให้คุณเห็นแล้วว่าค่าใช้จ่ายโรคมะเร็งนั้นสูงจริง ๆ อีกทั้งเซลล์มะเร็งยังจะมีการดื้อยาได้ทุกเมื่อ ในการรักษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนสูตรยาใหม่ ๆ อยู่เสมอ และก็แน่นอนว่ามักจะเป็นราคาที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นการเตรียมพร้อมทางด้านการเงินสำหรับโรคร้ายจึงเป็นสิ่งที่คุณควรวางแผนเอาไว้บ้าง ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gettgo.com/blog/check-medical-expense-cancer