เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า ตอนที่ 6
เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า ต่อจากที่เขียนบรรยายไว้ตอนที่ 1-5 คราวที่แล้ว พูดถึงว่าเราจะหาสารธรรมชาติพฤกษเคมี หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Phytochemical มาดูว่ามันจะมีผลต่อเซลล์มะเร็งยังไง
เริ่มศึกษาอย่างไร?
ผมก็ทำการศึกษาวิจัยโดยจ้าง Postdoc (นักวิจัยหลังปริญญาเอก หรือ ผู้ที่จบปริญญาเอกแล้ว แล้วมาทำงานวิจัย) คนนึง ชื่อ ดร.จูน
ผมก็บอกดร.จูนว่า งานวิจัยปีที่แล้วของนักวิจัยรางวัลโนเบล (Nobel Prize) เขาพยายามที่จะหายารักษามะเร็ง โดยการที่ไปลดการแสดงออกของโมเลกุลที่อยู่บนผิวเซลล์มะเร็ง ที่ชื่อว่า PD-L1
PD-L1 ก็คือ programme cell death ligand 1
การศึกษาด้านการรักษาโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการปรับระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อต้านหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (immunotherapy) ได้นั้นรุดหน้าไปมาก ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการค้นพบยาที่มีเป้าหมายการออกฤทธิ์ต่อโปรตีนหลากหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันออกวางจำหน่ายมากมายรวมถึงยาที่มีเป้าหมายการออกฤทธิ์ต่อ programmed cell death 1 หรือ programmed death 1 (PD-1 หรือ CD279) และลิแกนด์ (ligand) ของ PD-1
การที่เซลล์เนื้องอกมีการปรากฏของ PD-L1 อย่างมากมายทำให้จับกับ PD-1 บน T cells ได้มากเป็นเหตุให้ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอก เป็นการยับยั้ง antitumor activity ของร่างกาย ดังนั้นจึงมีผู้พยายามคิดค้นยาที่ขัดขวางการจับของ PD-1 กับ PD-L1 เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับมาทำหน้าที่จัดการกับเนื้องอกโดยหวังประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง ซึ่งยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง PD-1 (PD-1 inhibitors) ที่มีจำหน่ายแล้ว ได้แก่ pembrolizumab และ nivolumab ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง PD-L1 (PD-L1 inhibitors) ที่มีจำหน่ายแล้ว ได้แก่ atezolizumab ขณะนี้ยังมียาอื่นอีกหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อ PD-1 หรือ PD-L1 ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นยารักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นที่ต้องการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1339
ผมบอก ดร.จูนว่า อยากจะดูว่า สารพฤกษเคมี 2 ตัว ที่เรามีในห้องแล็ป และเราทำการวิจัย คือ เซซามิน #sesamin กับ เฮสเพอริดิน #hesperidin นี่เอง
ดร.จูนก็ไปทำงานวิจัย ทำงานวิจัยอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็มารายงานผลการวิจัย ซึ่งในครั้งแรก เราก็ตื่นเต้นมาก เราพบว่าเซลล์มะเร็งที่เรามีอยู่ในห้องแล็ป โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นจำนวนมาก มีสถิติขึ้นเป็นอันดับ 1 เลยว่าทำให้ผู้หญิงมีคุณภาพชีวิตแย่ลง และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งเต้านมค่อนข้างเยอะมาก เพราะว่าการเป็นมะเร็งที่ใดที่หนึ่ง มันสามารถกระจายตัวไปได้ เซลล์มะเร็งมันเก่งจริงๆ นะครับ ก่อนหน้านี้ก็เล่าให้ฟังไปแล้วนะครับ
ดร.จูนก็ไปทำวิจัยกลับมา แล้วเราก็มีเซลล์มะเร็งอยู่ 2 ชนิด (Cancer cell lines)
✅ เซลล์ชนิดที่หนึ่ง คือ ชนิดที่ไม่รุนแรง หมายถึง มันก็ยังเป็นเซลล์มะเร็งอยู่ แต่มันก็ไม่ aggressive ในการที่ ถ้าเกิดว่าไปเจออยู่ในตัวคนคนไข้แล้ว มันก็ทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ถึงกับรวดเร็วรุนแรง เท่ากับเซลล์ชนิดที่สอง เซลล์ชนิดที่หนึ่งนี้ มีชื่อว่า MCF-7
✅ เซลล์ชนิดที่สอง เป็นเซลล์มะเร็งที่รุนแรง ก็คือ MDA-MB
เซลล์สองชนิดนี้มันต่างกันอย่างไร?
ในเซลล์มะเร็งที่ไม่รุนแรง มันไม่มีการแสดงออกของโมเลกุล PD-L1 เลย โมเลกุล PD-L1 มันมีความสำคัญ เพราะว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เซลล์มะเร็ง มันมีอยู่บนผิวเซลล์ มันจะหนีจากการทำลายของ T-Cell เม็ดเลือดขาว ที่เป็นเซลล์เพชฌฆาตได้
ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร?
พอเอาผลมาให้ดู ผมก็ถามกลับไปว่า แล้วมีคนรายงานเป็นยังไงบ้าง ก็ได้รับคำตอบว่าตรงกับที่มีคนเคยรายงานมาแล้วว่า MCF-7 ซึ่งไม่รุนแรง ไม่มีการแสดงออกของ PD-L1 ส่วน MDA-MB ชนิดที่รุนแรง ก็จะมีการแสดงออกชัดเจนเลย แล้วก็มีเอาผลงานวิจัยออกมา ที่ทำได้ในห้องแล็ปเรา ทั้งการแสดงออกของระดับสารพันธุกรรม แล้วก็เป็นการแสดงออกของโปรตีนด้วย ในห้องแล็ปเราก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือ น้ำยาที่สำหรับตรวจสอบ วิธีการต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้ว ภายในไม่กี่สัปดาห์ เราก็ได้รับคำตอบ
อันนี้ เรื่องที่น่าตื่นเต้นต่อไปก็คือ แล้วเซลล์ที่มันรุนแรง หรือ เซลล์ที่เราเรียกว่า aggressive cell line MDA-MB ถ้าเกิดว่าเราเอามันมาเลี้ยงที่มีการแสดงออกของ PD-L1 แล้วเนี่ย แล้วถ้าเราใส่สารพฤกษเคมีสองชนิด (เซซามิน กับเฮสเพอริดิน) นี้ใส่เข้าไป มันจะเป็นยังไง
คือเป็นวัตถุประสงค์เดียวกัน กับที่นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล เขาได้ทำการศึกษาวิจัยเป็น 10 ปีเลยนะครับ โดยการใช้ antibody ไปจับที่จำเพาะ แต่ถ้าสมมุติว่าเราทำได้ มันก็มีประโยชน์มหาศาล เพราะว่า สารพฤกษเคมีต่างๆ เหล่านี้เนี่ย เราหาจากธรรมชาติได้ เราไม่ต้องสังเคราะห์ขึ้นมา อีกอย่างคือมันเป็นสารที่กินได้ ผมตื่นเต้นเรื่องนี้มากแล้วก็ใจจดใจจ่อเกี่ยวกับเรื่องของผลงานวิจัย ที่จะออกมาว่าจะเป็นยังไง
เซลล์มะเร็งเนี่ยบอกได้เลยนะครับว่า มันเก่งจริงๆ แต่เราเก่งกว่า เพราะว่าผลจากการวิจัยเนี่ย เป็นที่น่าตื่นเต้นมาก พบว่าสารพฤกษเคมี ทั้งสองชนิดนี้คือ เซซามิน #sesamin และเฮสเพอริดิน #hesperidin มีผลต่อเซลล์มะเร็งที่รุนแรง
จะมีผลยังไง โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ 😊
เครดิต/ที่มาข้อมูล: Facebook Dr. Prachya Kongtawelert
สอบถามสั่งซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพ
จากงานวิจัยของ ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ
☎️ 086 604 7044
Line: @baannumsai
คลิกเพื่อแอ๊ดไลน์ : https://line.me/R/ti/p/%40baannumsai
ดูข้อมูลเพิ่มเติม Sesamix-Z ได้ที่
http://baannumsai.com/th/what_is_sesamix-z/
⭐️หมายเหตุ
ติดตาม “เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า” ตอนที่ 1-5
ได้ที่ ลิงค์ข้างล่างนี้
http://baannumsai.com/th/cancer-cells-are-very-goo-but-we-are-better/
“เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า” ตอนที่ 7
ได้ที่ ลิงค์นี้ http://baannumsai.com/th/cancer-cells-are-very-goo-but-we-are-better-series7