ข่าวสาร ความรู้คู่สุขภาพ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สารสกัดเมล็ดส้มและมะนาว เฮสเพอริดิน

มลพิษทางอากาศอันตรายที่คุณคาดไม่ถึง

มลพิษทางอากาศในหลายประเทศกำลังอยู่ในจุดที่น่าเป็นห่วงและส่งผลกระทบต่อประชากรโดยตรง ล่าสุดมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศมีผลต่ออัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง โดยพบในเพศหญิงที่มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรงมะเร็งเต้านมสูงถึง 80 เปอร์เซนต์

นักวิจัยจาก University of Birmingham และ University of Hong Kong เปิดเผยผลการศึกษาความสัมพันธ์ของมลภาวะทางอากาศต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยทำการศึกษาจากประชากรในฮ่องกงจำนวน 65,000 คนเป็นเวลามากกว่า 13 ปี พบว่า 80 เปอร์เซนต์ของประชากรหญิงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมและ 36 เปอร์เซนต์ของประชากรชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าว มาจากมลพิษทางอากาศที่เราหายใจเข้าไปในแต่ละวัน

ผลวิจัยนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่มีการระบุว่า มลพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดมะเร็งนั้น มาจากการรับไฮโดรคาร์บอนและโลหะหนักที่กระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศ  ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ

งานวิจัยนี้ยังนำไปสู่การศึกษาในประเทศอื่นๆในเรื่องมลพิษทางอากาศและอัตราการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังสรุปว่าอาหารที่ดีและการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้

แอร์วิชวล เว็บไซต์ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ เผยผลการจัดอันดับ ณ เวลา 16.45 น. วันที่ 13 ม.ค.นี้ ให้กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยติดอันดับ 34 เมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก ขณะที่เชียงใหม่มีอากาศเลวร้ายที่สุดอันดับ 38 ของโลก

ส่วนเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงของประเทศต่างๆที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายมากที่สุด 10 อันดับประกอบด้วย

อันดับ 1 นิวเดลี ประเทศอินเดีย
อันดับ 2 เมืองอู๋ฮั่น ประเทศจีน
อันดับ 3 เมืองอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย
อันดับ 4 โกลกัตตา ประเทศอินเดีย
อันดับ 5 กาฐมัณฑุ ประเทศเนปาล
อันดับ 6 พอร์ท ฮาร์คอร์ท ประเทศไนจีเรีย
อันดับ 7 เมืองเสิ่นหยาง ประเทศจีน
อันดับ 8 เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
อันดับ 9 ธากา ประเทศบังกลาเทศ
อันดับ 10 เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน
อันดับ 34 กรุงเทพฯ ประเทศไทย
อันดับ 38 เชียงใหม่ ประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย) องค์กรรณรงค์อิสระระดับโลก ทวีตช่วงเช้าวันเดียวกันอ้างข้อมูลเว็บไซต์แอร์วิชวลว่า กรุงเทพมหานครติดอันดับ 9 เมืองใหญ่ที่คุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก

สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศที่ไม่ค่อยดีนักของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 20 ธ.ค. 2561 บางวันที่มีฝนตกลงมาชะล้างก็ทำให้คุณภาพอากาศกลับมาดีขึ้นบ้าง แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศในช่วงหน้าหนาว ที่อากาศปิด ลมนิ่งเช่นนี้ยังคงต้องติดตามเป็นรายวัน

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ขณะอยู่กลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

  1. พักผ่อนอยู่ในบ้าน
  2. เตรียมยาให้พร้อม
  3. ใช้หน้ากากกันฝุ่น
  4. รีบพบแพทย์ หากมีอาการ

สำหรับประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง หมั่นสังเกตอาการหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

สามารถตรวจสอบดัชนีคุณภาพอากาศ เพื่อดูคุณภาพอากาศคลิกที่นี่

กรุงเทพมหานคร ยังต้องเผชิญกับอากาศและฝุ่นละออง PM2.5 เป็นพิษจำนวนมากต่อไปอีก 2-3 เดือน และภาวะนี้เองที่ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ และสามารถเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งตามมา งานวิจัยต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า เซซามิน (Sesamin) สามารถช่วยลดการอักเสบที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งปอดได้ โดยการไปยับยั้งที่กลไก ​COX2 ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับยา

ฟังบางส่วนของคลิปบรรยาย จาก ศ.ดร. ปรัชญาคงทวีเลิศ ว่าด้วยเรื่องงานวิจัยเซซามิน (sesamin) และ เฮสเพอริดิน (Hesperidin) มีส่วนช่วยปกป้องคุณจากอันตรายของมลพิษทางอากาศได้อย่างไร

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซซามิกซ์ (sesamix) คลิกที่ลิ้งค์นี้

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซซามิกซ์-แซด (sesamix-z) คลิกที่ลิ้งค์นี้

Related posts

Leave a Comment