เฮสเพอริดิน กระตุ้นเซลล์ประสาท และทำให้ความสามารถในการจำดีขึ้น
สารพฤกษาเคมี “เฮสเพอริดิน” #สารธรรมชาติฟลาโวนอยด์ กระตุ้นให้มีการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสารท และทำให้ความสามารถในการจำดีขึ้น โดยเฮสเพอริดินจะออกฤทธิ์ผ่านทางแอสโทรไซต์ ทีจีเอฟเบต้าวัน โดย Matias and collegues
กระบวนการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาทที่เรียกว่า synapse formation และการทำงานของกระบวนการนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและความจำ
เซลล์ประสาทชนิด แอสโทรไซต์ เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญอันนี้ ในการควบคุมให้เกิดกระบวนการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาของสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่กลไกการทำงานของกระบวนการนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก
แอสโทรไซต์ (Astrocytes) รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือเซลล์เกลียลแอสโทรไซติค (astrocytic glial cell) มีรูปทรงคล้ายดาว (star-shaped) เนื่องจากมีระยางค์ยื่นออกไปมากมาย โดยปลายแขนง (foot processes) จะยื่นไปสัมผัสกับหลอดเลือดและเซลล์ประสาทที่อยู่โดยรอบ แอสโทรไซต์ทำหน้าที่เป็น blood brain barrier (BBB) เพื่อคัดกรองสารต่าง ๆ และป้อนให้กับเซลล์ประสาท เช่น ยา หรือ กลูโคส ซึ่งการขนส่งกลูโคสจากระบบไหลเวียนโลหิตผ่านเข้าเซลล์ประสาทจะต้องมีการผ่านแอสโทรไซต์ก่อน กลูโคสที่ถูกส่งมาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไกลโคเจน (glycogen) สะสมไว้ในเซลล์ สำหรับป้อนให้กับเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไว้ใช้
-: ที่มา th.wikipedia.org
จนเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ยาใหม่ๆ และสารที่มีขนาดโมเลกุลที่เล็ก รวมทั้ง สารพวกฟลาโวนอยด์ ได้ถูกนำมาทำการศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกของการรักษา และจัดการกับกระบวนจดจำ ทั้งในภาวะปรกติและภาวะที่มีพยาธิสภาพหรือเป็นโรคต่างๆ
อย่างไรก็ตาม เซลล์เป้าหมาย และกลไกการออกฤทธิ์ของสารพวกฟลาโวนอยด์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก ซึ่งยังต้องทำการศึกษาต่อไป
ในการศึกษาครั้งนี้ เราได้ทำการศึกษาผลของสาร เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ต่อความจำ และกลไกการทำงานระดับโมเลกุลเป้าหมาย ทั้งในระดับหลอดทดลอง (In vitro) และในสิ่งมีชีวิต (In vivo) โดยการใช้การรักษาระยะสั้น การทดสอบความจำใช้ระบบที่เรียกว่า novel object recognitition test ย่อว่า NOR เป็นตัววัดประสิทธิภาพของความจำในหนูทดลอง ที่ได้รับการฉีดสารเฮสเพอริดินเข้าทางช่องท้องเป็นเวลา 30 นาทีก่อนทำการฝึกหัด (training) และฉีดอีกครั้งหนึ่งก่อนการเริ่มต้นการทดสอบ และมีการทดสอบผลของเฮสเพอริดินโดยตรงต่อการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท และต่อเซลล์แอสโทรไซต์ในหลอดทดสอบด้วย
จากงานวิจัยนี้พบว่า สารเฮสเพอริดิน ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นยาชนิดใหม่ที่สามารถช่วยการทำงานของความจำได้ดีขึ้นในหนูโตเต็มวัย โดยมีกลไกที่สำคัญสองอย่างคือ
อย่างแรก ผลโดยตรงคือการที่ไปกระตุ้นกระบวนการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสารทในบริเวณที่เรียกว่า ฮิปโปแคมพัส (Hippocampal) และ คอร์ติคอล (Cortical)
อย่างที่สอง คือ การมีผลทำงานทางอ้อม คือการกระตุ้นเซลล์แอสโทรไซต์ ให้หลั่งสาร ทีจีเอฟ เบต้าวัน (TGF-beta1) มากขึ้น แล้วไปกระตุ้นการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทอีกครั้งหนึ่ง
จากข้อมูลของเรานี้ แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์การทำงานปกป้องระบบประสาทของสารเฮสเพอริดิน และเป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของสารเฮสเพอริดินต่อระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system, CNS) ที่มีกลไกเป้าหมาย โดยมีผลต่อแอสโทรไซต์ และการส่งสัญญาณของทีจีเอฟ เบต้าวัน
งานวิจัยนี้ไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นข้อมูลใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสารฟลาโวนอยด์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง แต่ยังเป็นแสงส่องสว่างให้เห็นหนทางของการรักษาทางเลือก ที่อยู่บนพื้นฐานการทำงานของเซลล์ประสาทแอสโทรไซต์
#ฟลาโวนอยด์
#เฮสเปอร์ริดิน
#Sesamix
อยากทราบว่า คนอายุ 82 ปี เป็นอัลไซเมอร์มาปีกว่าแล้ว มีผลิตภัณฑ์ตัวไหนช่วยได้บ้างคะ
แนะนำให้ทานเซซามิกซ์ กับเซซามิกซ์-แซดนะคะ สนใจอยากทราบรายละเอียด แอด LINE แล้วทักมานะคะ
Add link คลิกเลย => https://line.me/R/ti/p/%40baannumsai