เรื่องราวของ เฮสเพอริดิน (Hesperidin) หรือวิตามิน-พี (Vitamin-P)
ตอนที่ 1 การค้นพบเฮสเพอริดิน
Albert Szent-Györgyi ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) จากการค้นพบวิตามิน-ซี ได้ค้นพบ citrus bioflavonoids เมื่อปี ค.ศ. 1936
โดยได้รายงานว่า citrus bioflavonoids เป็นสารที่ช่วยให้ความแข็งแรงกับผนังหลอดเลือด และยังทำหน้าที่ป้องกันความสามารถในการควบคุม กระบวนการซึมผ่าน ที่เรียกว่า capillary permeability โดยที่วิตามิน-ซี ไม่สามารถทำได้
ดังนั้น ท่านจึงเรียกสาร bioflavonoids เหล่านี้ ว่า ‘วิตามิน-พี (Vitamin – P)’ ซึ่งเป็นผลจากคุณสมบัติในการควบคุม ‘permeability’ นั่นเอง
ซึมผ่าน การซึมผ่าน สภาพให้ซึมผ่านได้ (Permeability หรือ Permeable) คือการที่ เซลล์ เนื้อเยื่อ และ/หรือ อวัยวะ ยอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดผ่านเข้า-ออกจากตัวเองได้ ซึ่งอาจเกิดการผ่านเข้า-ออกตามธรรมชาติ เช่น ผนังเซลล์ ยอมให้สารอาหารซึมผ่านเข้าหรือผ่านออกจากเซลล์ได้ หรือเกิดการผ่านเข้า-ออกเฉพาะกรณีเกิดความผิดปกติ เช่น ปกติผนังหลอดเลือดจะไม่ยอมให้ เลือด หรือ สารน้ำ หรือของเหลว ต่างๆภายในหลอดเลือดซึมออกโดยผ่านผนังหลอดเลือด แต่กรณีที่หลอดเลือดอักเสบ สารน้ำ/ของเหลว หรือ เลือด ในหลอดเลือด จะสามารถซึมผ่านผนังหลอดเลือด/ออกจากหลอดเลือด ไปอยู่ในเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆหลอดเลือดนั้นๆได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อนั้นๆ เป็นต้น
ที่มา:- http://www.merriam-webster.com/medical/permeable [2017,Jan21]
การค้นพบ bioflavonoids ครั้งนี้ มาพร้อม ๆ กับการทำการวิจัย และวิธีการแยก ค้นพบ และบ่งบอกลักษณะ ของวิตามิน-ซี
ลักษณะอาการของการขาดวิตามิน-ซี คือ การที่มีรอยช้ำ และเลือดออกตามเหงือก หรือไรฟัน ซึ่งการค้นพบแรก ๆ นั้น พบว่าวิตามิน-ซีที่แยกได้แบบสารสกัดเท่านั้นที่ออกฤทธิ์ และรักษาอาการเหล่านี้ได้ผล ซึ่งเมื่อใช้ วิตามิน-ซี บริสุทธิ์รักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี Albert Szent-Györgyi ได้ทำการทดลอง กับเพื่อนที่มีปัญหาของการมีเลือดออกตามเหงือก และให้สารสกัดวิตามิน-ซีแบบหยาบ หรือไม่บริสุทธิ์ ก็พบว่า อาการเลือดออกตามเหงือกหายได้ไป แต่ต่อมาอาการเหล่านี้ก็กลับมาอีก คราวนี้ Albert Szent-Györgyi ได้ให้วิตามิน-ซี ที่มีความบริสุทธิ์ ที่เค้าคิดว่าน่าจะได้ผลเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการใช้วิตามิน-ซีบริสุทธิ์ กลับไม่ได้ผลตามที่คิดไว้ ยังคงมีเลือดออกตามเหงือกอยู่เช่นเดิม Albert Szent-Györgyi จึงทำการ ทดลองแยกสารที่ไม่บริสุทธิ์ออกมาจากวิตามิน-ซี และก็พบว่าสารต่าง ๆ เหล่านั้น คือสารที่อยู่ในกลุ่มของ bioflavonoids
ต่อมา Albert Szent-Györgyi ก็ทำการทดลองกับตัวเอง โดยการใช้สาร bioflavonoids ในการรักษา และก็พบว่า bioflavonoids ที่แยกได้จาก วิตามิน-ซี สามารถใช้รักษาภาวะเลือดออกที่เหงือกได้ เค้าจึงเรียกสาร bioflavonoids นี้ว่า ‘Vitamin – P’
ดังนั้น bioflavonoids จึงใช้รักษาและปกป้องเส้นเลือดฝอย (capillaries) ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่มีความบางที่สุดในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ต่อมาก็มีการถกเถียงกัน เกี่ยวกับกลุ่มสาร bioflavonoids นี้ ซึ่งรวมถึง สารเฮสเพอริดิน (Hesperidin) ที่พบได้ด้วยว่า ยังไม่ใช่สารที่จะสามารถเรียกว่าเป็นสารกลุ่มวิตามินได้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสาร bioflavonoids นั้นประ กอบด้วยสารประกอบที่มีมากถึง 4,000 กว่าชนิด ที่มีคุณสมบัติทางชีวิภาพที่แตกต่างกัน
ต่อมานักวิทยา ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Dr. Jacques Masquelier ได้รายงานว่า สาร bioflavonoids ที่ชัดเจนนั้นเป็นสารกลุ่มที่เรียกว่า oligomeric proanthocyanins ซึ่งเป็นสารที่พบว่ามีอยู่มากในกลุ่มของสารสกัดจากเมล็ด และผิวขององุ่น ไวน์แดง เปลือกไม้สีชมพู และใบไม้อีกหลายชนิด เป็นสาระสำคัญที่ทำหน้าที่ในส่วนที่ Albert Szent-Györgyi รายงานว่าเป็น วิตามิน-พี
และในปัจจุบัน เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เฮสเพอริดิน (Hesperidin) เป็นสารที่มีคุณสมบัติของวิตามิน-พี อย่างชัดเจน
ตอนที่ 2 ประโยชน์ของเฮสเพอริดิน
เฮสเพอริดิน (Hesperidin) และสารประกอบชนิดไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) สามารถทำให้คุณภาพของเส้นเลือดฝอยและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันดีขึ้น ทั้งนี้เพราะว่า ได้มีการรายงานว่าช่วยในเรื่องของรอยฟกช้ำ เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยเปราะบาง
ในส่วนของประโยชน์อย่างอื่นนั้น ได้รวมถึงความสามารถในการลดอาการภูมิแพ้ ที่เรียกว่า hey fever โดยมีรายงานการวิจัยว่า สารไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เฮสเพอริดิน และควาเซอติน มีผลลดการหลั่งของฮีสตามีน (Histamine)
เฮสเพอริดิน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมาก โดยการทำงานแบบเสริมฤทธิ์ร่วมกับวิตามิน-ซี เพื่อรักษาให้โมเลกุลของคอลลาเจนมีความคงตัวหรือแข็งแรง ซึ่งรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง และรอยตีกาบนผิวหน้าเป็นผลจากการที่โมเลกุลคอลลาเจนไม่แข็งแรงหรือถูกทำลาย
ตอนที่ 3 กลไกการออกฤทธิ์ของเฮสเพอริดิน
จากรายงานการศึกษาวิจัยมากมายที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลทาง internet เช่น pubmed.com และ sciencedirect.com พบว่า เฮสเพอริดิน (hesperidin) มีฤทธิ์ทางชีวภาพมากมายหลายอย่างที่ได้พิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้ถูกตรวจสอบแล้ว ด้วย peer reviewers โดยมีกลไกในระดับโมเลกุล เช่น ต้านภาวะอ๊อกซิเดชั่น (antioxidant), ต้านการอักเสบ (anti-inflammation), ต้านอาการทางภูมิแพ้ (anti-allergy), ลดภาวะไขมันเกิน (hypolipidemic acvitities), ให้ความแข็งแรงและป้องกันเส้นเลือดเปราะบาง (vasoprotective effects), และต้านกระบวนการเกิดมะเร็งระยะต่างๆ (anticarcinogenic actions)
♥ ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่