ความรู้คู่สุขภาพ

“ฉันเป็นโรคสมองเสื่อมแล้วหรือยัง”

(ตัดตอนมาจาก blog ของหมอสันต์ ใจยอดศิลป์ ค่ะ)

วงการแพทย์วินิจฉัยและจัดชั้นโรคสมองเสื่อมเป็นสามระดับคือ เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง ด้วยการใช้คะแนนการทำงานของสมอง แต่คนทั่วไปมีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับการวินิจฉัยดังกล่าวอย่างจบสิ้นกระบวนความ เพราะเป็นการวินิจฉัยที่สิ้นเปลืองเวลาพอสมควร ดังนั้น ผมแนะนำให้ท่านผู้อ่านวินิจฉัยตัวเองด้วยเกณฑ์ง่ายๆ ที่เชื่อถือได้ดังนี้

1. โรคสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย (MCI) วินิจฉัยเอาจากการที่คนใกล้ชิดทักว่าเราขี้ลืม ซึ่งตัวหมอสันต์เองก็ถูกวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อมระดับนี้ไปแล้วเรียบร้อย

 2. โรคสมองเสื่อมระดับปานกลาง ให้วินิจฉัยเอาจากเกณฑ์ความสามารถในการทำกิจวัตรสำคัญประจำวัน (instrumental activity daily living – IADL) เจ็ดอย่าง หมายความว่ากิจกรรมเจ็ดอย่างต่อไปนี้ หากท่านไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งแม้เพียงอย่างเดียว ท่านวินิจฉัยตัวเองได้เลยว่าเป็นสมองเสื่อมระดับปานกลางแล้ว กิจกรรมเจ็ดอย่างนั้นคือ

     2.1 อยู่คนเดียวได้ (independence) พูดง่ายๆว่าทนเหงาได้ อยู่คนเดียวแล้วมีความสุข มีทักษะที่จะสื่อสารกับคนอื่น (communication skill) ได้เอง เช่นพูดโทรศัพท์ ส่งอีเมล เล่นไลน์ เฟซ เป็นต้น

     2.2 ขนส่งตัวเองได้ (Transportation) ไปไหนมาไหนได้ในรูปแบบต่างๆด้วยตนเองตามความเหมาะสม เช่นขับรถเอง ปั่นจักรยานเอง เดินไปตลาดเอง

     2.3 เตรียมอาหารเองได้ (Preparing meals) เริ่มตั้งแต่การวางแผน จะกินอะไรบ้าง จะซื้ออะไร ขนของเข้าตู้เย็น หั่นหอม ซอยกระเทียม หุง ต้ม

     2.4 ช้อปปิ้งเองได้ (shopping) จะซื้อของกินของใช้อะไรเข้าบ้านบ้าง ตัดสินใจเองได้

     2.5 จัดการที่อยู่ของตัวเองได้ (housework) ซักผ้า กวาดพื้น ถูพื้น ดูดฝุ่น เอาขยะไปเท เอาสัมภารกไปทิ้ง

     2.6 บริหารยาตัวเองได้ (Managing medications) ตัวเองกินยาอะไรอยู่บ้าง แต่ละตัวกินเพื่ออะไร ขนาดที่ต้องกินเท่าไหร่ กินวันละกี่ครั้ง กินเมื่อใด มันมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง เมื่อไหร่ควรจะลดหรือหยุดยา

     2.7 บริหารเงินของตัวเองได้ (Managing personal finances) ใช้จ่ายไม่เกินเงินที่ตัวเองมี จ่ายบิลต่างๆเช่นประปา ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ท รับเงิน (ถ้ายังมีรายรับ) โอนเงิน ฝากเงิน ทำเองได้หมด

     ทั้งเจ็ดอย่างนี้หากเสียไปอย่างใดอย่างหนึ่งแม้เพียงอย่างเดียว ท่านเป็นสมองเสื่อมระดับปานกลางแล้ว

3. โรคสมองเสื่อมระดับรุนแรง ให้วินิจฉัยเอาจากเกณฑ์ความสามารถในการทำกิจวัตรจำเป็นประจำวัน (activity daily living – ADL) ห้าอย่าง หมายความว่ากิจกรรมห้าอย่างต่อไปนี้ หากท่านไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งแม้เพียงอย่างเดียว ท่านวินิจฉัยตัวเองได้เลยว่าเป็นสมองเสื่อมระดับรุนแรงไปเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมทั้งห้าอย่างนั้นคือ

      3.1 ดูแลสุขศาสตร์ส่วนบุคคลได้ (personal hygiene) เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ตัดเล็บ หวีผม

     3.2 แต่งตัวได้ (dressing) เลือกเสื้อผ้าเอง สวมเองได้อย่างเหมาะสม

     3.3 กินอาหารได้เอง (feeding) ไม่ต้องรอให้มีคนป้อนหรือใส่ท่อสายยาผ่านจมูก

     3.4 การจัดการอึฉี่ตัวเองได้ (continence management) หมายถึง การอั้นเมื่อควรอั้น ปล่อยเมื่อควรปล่อย เมื่อไรควรไปห้องน้ำ และไปห้องน้ำเองได้

     3.5 เคลื่อนไหวเดินเหินได้ (ambulating) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยันกายจากท่านอนลุกขึ้นนั่ง จากนั่งลุกยืน จากยืนออกเดิน จากเดินกลับลงนั่ง แล้วกลับลงนอน

     ทั้งห้าอย่างนี้หากเสียไปอย่างใดอย่างหนึ่งแม้เพียงอย่างเดียว ท่านเป็นสมองเสื่อมระดับรุนแรงแล้ว มาถึงขั้นนี้ท่านไม่สามารถพึ่งตัวเองได้อีกต่อไป ต้องตกเป็นภาระให้กับคนรอบข้างเข้ามาช่วยดูแล

 อย่าเร่งให้ตัวเองสมองเสื่อมเร็วขึ้น

     นอกจากจะเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตในห้าประเด็นที่ผมกล่าวไปข้างต้นแล้ว ท่านผู้อ่านอย่าเผลอเร่งให้ตัวเองสมองเสื่อมเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น

     1. อยู่คนเดียวดีๆ ไม่ว่าดี กลับเคี่ยวเข็นให้ลูกหลานมาอยู่เป็นเพื่อน มาพูดมาคุยด้วย โดยเฉพาะตอนกลางคืน เพราะกลัว เพราะเหงา โธ่ ปูนนี้แล้วยังไม่เลิกกลัวอีกเหรอ ปูนนี้แล้วยังจะมีอะไรเหลือให้กลัวอีก

     2. จะขับรถเองก็ขับได้แต่ไม่ยอมขับ ต้องให้คนอื่นมารับมาส่ง หรือจ้างคนอื่นขับให้

     3. จะทำกินเองแบบง่ายๆในครัวก็ทำได้แต่ไม่ยอมทำ ต้องออกไปซื้อเขากินข้างนอก หรือต้องรอคนอื่นซื้อเข้ามาให้ หรือไม่ก็กินของแห้งบรรจุซองพลาสติกแทน

     4. จะเอาช้อนตักข้าวกินเองก็ได้ แต่ชอบอ้าปากให้ลูกหลานป้อน

     5. แข้งขาก็ยังดีจะลุกจะเดินก็ทำได้เอง แต่เลือกจะนั่งจุมปุกหรือนอนแซ่วอยู่เฉยๆ ทั้งวัน

     6. จะเข้าห้องน้ำเองก็ทำได้ แต่ไม่ยอมเข้า ต้องรอลูกหลานมาพาเข้าห้องน้ำ ให้เขาอาบน้ำให้ ให้เขาเช็ดตัวให้

     7. จะเดินไปอึไปฉี่ที่ห้องน้ำเองก็ทำได้ แต่เลือกที่จะใส่ผ้าอ้อม (แพมเพิร์ส) ทั้งๆ ที่เป็นเวลากลางวันแสกๆ และไม่ได้เดินทางไกลไปไหน

     8. จะผลัดผ้าผลัดผ่อนเองให้เหมาะกับกาละเทศะก็ทำได้ แต่เลือกที่จะทรงชุดนอนตั้งแต่เช้ายันเย็นจนลืมไปว่าชุดนอนที่ใส่อยู่นี้ของเก่าเมื่อวานหรือของใหม่วันนี้

     9. จะฝึกเดินเหินเองก็ได้แต่ขี้เกียจ ต้องมีล้อเข็น มีวีลแชร์ หรือไม้เท้า หรือเสื้อกันปวดหลัง หรืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่ซื้อมาใช้เพราะความขี้เกียจ ทำอย่างนั้นจะทุพลภาพเร็วขึ้น

สรุปว่า เป็นแฟนหมอสันต์ตัวจริง อย่าเผลอเร่งให้ตัวเองสมองเสื่อมเร็วขึ้นนะคร้บ 😊

เครดิต: นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

สอบถามสั่งซื้อเซซามิกซ์ เซซามิน sesamixz อาหารเสริมรักษามะเร็ง และฌรคร้าย
ซื้อเซซามิกซ์ sesamix ใน shopee
ซื้อเซซามิกซ์ sesamix ใน Lazada

Related posts

Leave a Comment