ไขมันพอกตับ อันตรายเสี่ยงโรคร้าย
ความรู้คู่สุขภาพ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ไขมันในหลอดเลือด เสี่ยงโรคร้าย!!

ภัยเงียบ แต่ อันตราย !
กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว … ป้องกันได้ถ้ารู้เรื่องนี้

โรคร้ายแรงแห่งยุคสมัย ไม่ได้มาจากเชื้อโรคเหมือนแต่ก่อน แต่กลายเป็นโรคอันเกิดจากไลฟ์สไตล์ ภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะอาการไขมันพอกตับ ซึ่งกำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก

ตับเป็นอวัยวะที่ทำงานหลายหน้าที่ มากกว่า 500 กระบวนการเพื่อช่วยกำจัดพิษออกจากร่างกาย , ย่อยอาหาร ,ปรับสมดุลฮอร์โมน ,ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ,มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน

นายแพทย์ Robert Lustig, MD แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อแห่ง University of California, San Francisco เปรียบเทียบว่า ภาวะไขมันพอกตับนั้น คล้ายๆกับภาวะความดันโลหิตสูง ที่อาจเป็นอยู่แล้วแต่เจ้าตัวไม่เคยตระหนัก กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เกินเยียวยา เดิมทีเราเคยขนานนามกันว่า ภาวะความดันสูงคือฆาตกรเงียบ ตอนนี้เราก็จะได้ฆาตกรเงียบใหม่เพิ่มมาอีกหนึ่งโรคนั่นคือ โรคไขมันพอกตับ

กว่า 70% ของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดภาวะไขมันพอกตับ
กว่า 45% ของเด็กอ้วนมักเกิดภาวะไขมันพอกตับ

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาวะโรคนี้ไม่ได้แปรผันโดยตรงกับ มวลร่างกาย (body-mass index) เพราะคนผอมก็เป็นโรคนี้ได้

เดิมทีเคยเชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ไขมันพอกตับเกิดจากการดื่มแอลกอฮอลล์ แต่ปัจจุบันพบแล้วว่าแม้ไม่ดื่มเลยก็เกิดภาวะโรคนี้ได้

ความน่ากลัวของโรคนี้คือมัน คืบคลาน อย่างเงียบๆ ไม่มีอาการเด่นชัด จนกระทั่งตับใกล้หมดสภาพแล้ว และมักจะตรวจพบหลังไปตรวจร่างกายด้วยปัญหาสุขภาพอื่นที่ดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวกับตับโดยตรง

อันตรายของโรคนี้ก็คือ ตับที่มีไขมันพอกตับจะปล่อยไตรกลีเซอร์ไรด์เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ดังที่รู้กันดีว่า ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงนั้นอันตรายไม่ยิ่งหย่อนกว่า LDL cholesterol สูงเลย

ดังนั้นไขมันพอกตับจึงมักเชื่อมโยงไปถึง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน น้ำหนักเกิน ความดันสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ สมองเสื่อม

หากปล่อยปละละเลยไม่แก้ไข ก็ยังอาจลุกลามไปเป็น ตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวายในที่สุด

ต้นเหตุ

อันดับหนึ่งก็คือ น้ำตาล high-fructose corn syrup (HFCS) ที่มีการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหารอย่างมโหฬาร โดยเฉพาะน้ำอัดลม นักวิชาการบางท่านจึงเรียกน้ำตาล HFCS นี้ว่ามันคือ “ สารเสพติดหรือบุหรี่ยุคใหม่”

ฟังจากชื่อว่าเป็นน้ำตาลจากข้าวโพด แต่ความจริงแล้วมันแตกต่างจากน้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำผึ้ง, ผลไม้ ,น้ำตาลอ้อย เพราะมันเป็นน้ำตาลที่ผ่านการดัดแปลงด้วยขบวนการเคมี ทำให้ฟรุ้คโต้สใน HFCS อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากธรรมชาติเดิม ทำให้มีรสหวานมากขึ้น ต้นทุนถูกลง มีความเข้มข้นมากกว่าน้ำตาลธรรมชาติมาก

ฟังจากชื่อโรค หลายๆคนคิดว่าเกิดจากบริโภคไขมันเข้าไปมากเกิน แต่ที่จริงคือ บริโภคน้ำตาลเข้าไปมากต่างหาก

โดยปกติร่างกายมนุษย์จะเก็บสะสมพลังงานสำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินในรูปของ glycogen แต่เมื่อเราบริโภคฟรุ้คโต้สเข้าไป ตับจะยังไม่สามารถแปรสภาพฟรุ้คโต้สให้กลายเป็น glycogen ได้ทันที ตับต้องขนย้ายฟรุ้คโต้สไปเก็บไว้ก่อนโดยแปรรูปไปเป็นไขมันสะสมเอาไว้

ตับจะแปรรูปแอลกอฮอลล์ไปเป็นไขมันเช่นเดียวกันกับวิธีการแปรรูปฟรุ้คโต้ส ดังนั้นนักวิจัยทางการแพทย์บางท่านจึงเปรียบเทียบว่า ในร่างกายของเด็ก “น้ำตาล ก็คือ แอลกอฮอลล์ ”

ไขมันที่สะสมภายในตับจะก่อผลร้ายกับสุขภาพ

๑) ปล่อยหลุดลอยไปในกระแสเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดอุดตัน

๒) สะสมมากเข้ากลายเป็นภาวะโรคไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง

๓) ขัดขวางกระบวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะเมื่อตับสะสมฟรุ้คโต้สมากๆ ตับอ่อนก็จะทำงานมากขึ้นชดเชยความอ่อนล้าของตับ โดยการปล่อยอินซูลินออกมามากขึ้น ซึ่งก็มีผลให้มีการขนย้ายน้ำตาลไปสะสมที่ตับเพิ่มมากขึ้น ภาวะไขมันพอกตับจึงเป็นทั้งตัวก่อโรค และผลลัพธ์ของโรคเมตาบอลิค (กลุ่มอาการโรคที่มีการเผาผลาญไขมันเสื่อมประสิทธิภาพ ระดับอินซูลินในเลือดผันผวน) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในที่สุดภาวะไขมันพอกตับจะไปเกี่ยวโยงกับโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ ได้อย่างไร ?

๔) ดังที่ทราบกันแล้วว่าตับเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดพิษในร่างกาย เมื่อไขมันพอกตับ จึงทำให้เหลือพิษตกค้างในร่างกาย เช่น สารตกค้างจากพลาสติกจะรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ตะกั่วจำทำลายเส้นประสาท ในสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันนี้พวกเราล้วนมีอัตราเสี่ยงมากมายที่จะได้รับพิษสารพัดชนิดหรือ สัมผัสกับมลพิษต่างๆ เมื่อตับเสื่อมสภาพลง ก็เท่ากับว่าร่างกายขาดด่านสำคัญในการปกป้องอันตรายจากพิษเหล่านี้

วิธีการปกป้องตับให้รอดพ้นจากไขมันพอกตับ

1) เลิก หลีกเลี่ยง งด ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เจือปนด้วย HFCS
เลือกสรรอาหารที่ปรุงสดด้วย ผัก ถั่วเปลือกแข็ง ธัญญพืช ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยๆ

2) พิถีพิถันในการบริโภคผลไม้มากขึ้น เพราะผลไม้โดยธรรมชาติมีน้ำตาล fructose อยู่มาก แม้จะดีกว่าการดื่มเครื่องดื่มรสหวานโดยตรง เพราะในผลไม้ยังมี มีกากใย (fiber) , pectin, phytonutrients จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด อย่างไรก็ตาม ผลไม้รสหวานก็ควรทานแต่น้อย และทานผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย มีกากใยเยอะเป็นหลัก หากติดใจรสชาติผลไม้รสหวานหักห้ามใจไม่ไหว ก็ให้ทานร่วมกับ หรือตามด้วยสารอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยดูดซับน้ำตาลผลไม้ เช่น เมล็ด chia ,flaxseeds, ถั่วเปลือกแข็ง ,อะโวคาโด ,ผักใบเขียว

3) บริโภคไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่นไขมันปลา มะกอก น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันมะพร้าว

4) งดทานอาหารฟ้าสต์ฟู้ดทั้งหลาย เพราะส่วนมากแล้วล้วนปรุงแต่ง ปนเปื้อนด้วยไขมันทรานส์ และ HFCS

5) ทานเสริมโคลีนเพิ่มเติม โคลีนมีมากในไข่ ตับ

6) ลดการใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพราะสารเคมีในยามักตกค้างและเป็นพิษกับตับ

Dr.Ann Louise Gittleman, PhD, CNS นักโภชนาการชื่อดัง อ้างผลการศึกษาของ University of Texas Southwestern Medical Center ว่า 38% ของคนไข้ 300 กว่าราย เกิดความเสียหายภายในตับ อันเนื่องจากการทานยาแก้ปวด acetaminophen (Tylenol) เกินขนาด ทั้งนี้เพราะก่อนที่ยาจะซึมไปออกฤทธิ์ในร่างกาย ต้องผ่านปราการแรกคือ ตับเสียก่อน ยิ่งทานยาหลายขนาน ทานปริมาณมากๅ ตับก็ยิ่งต้องรับภาระหนักเป็นเงาตามตัว ปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาอาการไขมันพอกตับโดยตรง นอกจากการใช้ยาลดอาการเบาหวานที่มีผลต่อตับบ้างเท่านั้นเอง

7) หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีเกษตร หรือยาฆ่าแมลงเช่น DDT, atrazine, glyphosate; สารเคมีที่มีส่วนผสมด้วยตะกั่ว,สารปรอท,สารหนู สรรหาผักผลไม้ที่เพาะปลูกในระบบอินทรีย์ (organic)

8) ออกกำลังกาย ผลวิจัยพบว่าการลดน้ำหนักส่วนเกินได้เพียง 3 %ถึง 5 % ก็สามารถช่วยแก้ไขอาการไขมันพอกตับได้อย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว ยิ่งหากออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง ก็สามารถบำบัดอาการไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี

กรรมวิธีการตรวจว่าเป็นไขมันพอกตับ แล้วหรือยัง?

ความน่ากลัวของโรคนี้คือ มันมาแบบเงียบเชียบ ไม่กระโตกกระตาก ไม่มีอาการเด่นชัด บางคนอาจมีอาการปวดท้องด้านบนขวา แต่บางคนก็ไม่มีอาการใดๆ กว่าจะรู้ตัวก็เพียบหนักเสียแล้ว

ดังนั้นควรจะมีวินัยในการตรวจสุขภาพตับเป็นระยะๆ แม้ไม่มีอาการ

  • ตรวจเอ็นไซม์ตับ เพื่อประเมินสภาวะอักเสบ หรือ ความเสียหายภายในตับ ในบางรายอาจต้องตรวจซ้ำด้วย ultrasound
  • ตรวจวัด fasting blood sugar, hemoglobin A1c ในเลือดทุกๆ 3 เดือน
  • ตรวจวัดระดับไขมัน triglyceride, cholesterol ,
  • ตรวจวัด C-reactive proteinในเลือด (เพื่อบ่งชี้สภาวะอักเสบในร่างกาย)

เขียนเผยแพร่โดย Laine Bergeson , FMCHC, is a health journalist and functional-medicine-certified health coach based in Minneapolis.

Related posts

Leave a Comment