เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า ตอนที่ 8
เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่าตอนที่แล้วถึงตอนที่เราค้นพบสารพฤกษเคมีคือเซซามินและเฮสเพอริดินสามารถไปลดการแสดงออกของโมเลกุล PD-L1 ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่รุนแรงที่ชื่อว่า MDA-MD
ผมบอก Postdoc นักวิจัยไป ว่าให้ลองเอาสาร 2 ตัวนี้ (เซซามิน และ เฮสเพอริดิน) มารวมกัน แล้วดูว่าผลจะเป็นอย่างไร เพราะว่าบางครั้ง การนำเอาสาร 2 ชนิดมารวมกัน มันอาจจะต่อต้านกัน มันอาจจะเป็นไปด้วยกัน หรืออาจจะเสริมฤทธิ์กัน หรือมันอาจจะเป็นผลบวกซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า additive effect กับ synergistic effect เรามุ่งหวังว่าจะให้ได้ผลเป็น synergistic effect นะครับ
เรื่องนี้มีความสำคัญนะครับ เพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราค้นพบ เวลาสารพฤกษเคมี หรือยาหรืออะไรก็ตาม มันไปเสริมฤทธิ์กัน มันก็จะทำให้กลไกการออกฤทธิ์ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 1 + 1 มันความจะได้ 2 อันนี้ก็เป็น additive effect แต่ถ้า 1+ 1 แล้วได้ 3 4 5 มากกว่า เราก็จะเรียกว่า synergistic effect หรือ เสริมฤทธิ์กัน
ดร.จูน ก็ไปทำวิจัยเพิ่ม ผมบอกว่า ลองเอาสาร 2 ตัวนี้ (sesamin และ hesperidin) มาทำวิจัยร่วมกัน ผมก็รอผลการวิจัยด้วยความตื่นเต้น ประมาณซักสองถึงสามสัปดาห์นะครับ ดร.จูน ก็เอาผลงานวิจัยเรื่องนี้มาคุย ซึ่งเป็นไปตามที่เรามุ่งหวังจริงๆ
การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญนะครับ เราค้นพบว่า เมื่อนำเอาเซซามีนเดี่ยวๆ ไปใช้ในการลดปริมาณของ PD-L1 หรือเมื่อใช้เฮสเพอริดิน ไปลดการแสดงออกของ PD-L1 เดี่ยวๆ หรือตัวเดียวนะครับ ก็ได้ผลดีปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่นำสาร 2 ตัวนี้ (เซซามิน และ เฮสเพอริดิน) มารวมกันนะครับ เราก็พบว่า มันมีลักษณะของการเสริมฤทธิ์กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากเลย เพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีสารเสริมฤทธิ์กัน เราสามารถที่จะใช้ให้มันออกฤทธิ์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พอเราได้ผล synergistic effect ระหว่าง เซซามิน กับ เฮสเพอริดิน แล้วเนี่ย เราก็ดีใจมากเลย เป็นการค้นพบที่ดีมาก 😊😊😊
สมมุติว่าเราจะนำมาใช้ในคน จะเป็นอย่างไร?
เมื่อเราศึกษา เราก็ค้นพบว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเป็นมะเร็ง แล้วไปพบแพทย์ สิ่งหนึ่งซึ่งหลีกเลี่ยงแทบจะไม่ได้เลย คือการรักษาโดยการใช้เคมีบำบัด
เคยได้ยินใช่ไหมครับว่า คนนี้โดนคีโมไป ซึ่งมีผล side effect หรือ อาการข้างเคียง เยอะมากเลย ไม่ว่าจะเป็นผมร่วง ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นความเบื่ออาหาร อะไรต่างๆ คือมีความเครียด ในระดับร่างกายและระดับจิตใจ และระดับเนื้อเยื้อเยอะแยะมากมาย
แล้วสิ่งที่น่าสนใจคือ เราแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เราจะใช้อะไรที่จะไปทดแทนคีโมเนี่ย มันยากมาก แล้วเราจะทำอย่างไรดี ผมก็เลยไปนั่งนึกในใจ และนั่งคิดว่า ก่อนที่เราจะมาถึงจุดนี้ได้ เราค้นพบว่า เซซามิน หรือ เฮสเพอริดิน สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น HepG2 หรือมะเร็งตับ แล้วเวลาเราทำการศึกษาเนี่ย เราก็ใช้สารคีโมหรือยา ที่ใช้ในการรักษามะเร็ง เป็นตัวควบคุม หรือเป็น positive control ความคิดหนึ่งที่แว๊บขึ้นมาทันทีเลย อย่างนั้นทำไมเราไม่ลองทำการทดลอง โดยการนำเอาสารพฤกษเคมี 2 ชนิดนี้ ไปใช้ร่วมกับสารหรือยาคีโม ในที่นี้เราก็เลือกใช้ doxorubicin ซึ่งเป็นยาคีโมที่ใช้ในการรักษามะเร็งหลายชนิดเลยนะครับ แทบจะเรียกได้ว่าเป็น drug of choice ตัวนึงนะครับ หมายถึง เป็นยาชนิดหนึ่งที่แพทย์ ชอบที่จะเลือกใช้ในการรักษาคนที่เป็นมะเร็ง
Doxorubicin (ด็อกโซรูบิซิน) เป็นยาเคมีบำบัดหรือยารักษามะเร็งที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง นำมาใช้รักษามะเร็งหลากหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งรังไข่ เป็นต้น นอกจากนี้ อาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
www.pobpad.com
เราไม่มีทางทดแทนได้ แต่ถ้าสมมุติว่าสารพฤกษเคมีของเราซึ่งมีฤทธิ์ anti-inflamation, anti-oxodative stress และ anti-oxidation ต่างๆ ที่มากเกินไป มันอาจจะไปลด side effect ก็ได้ ที่สำคัญที่สุด มันอาจจะทำให้เซลล์มะเร็งตายได้มากขึ้น
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Doxorubicin อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีแผลในปากหรือคอ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้น ปวดท้อง ท้องเสีย กระหายน้ำ เหนื่อย อ่อนเพลีย ผมร่วง เวียนศีรษะ เล็บมือหรือเล็บเท้าแยกออกจากเนื้อใต้เล็บ คันตา ตาแดง ตาบวม ตาแฉะ ระคายเคืองตา เจ็บตา มีอาการเจ็บ แสบ หรือชาที่มือและเท้า ปัสสาวะมีสีแดงเป็นเวลา 1-2 วันหลังได้รับยา เป็นต้น
www.pobpad.com
ผมก็เลยมาคิดว่า เหมือนกับเราจะแก้ปัญหา เราเจอไฟไหม้ เรารีบไปดับไฟ แต่เราก็คงต้องค้นหานะครับว่า อะไรที่เป็นบ่อเกิดของไฟที่ไหม้ขึ้นมา
ประเด็นนี้เองผมก็เลยบอก ดร.จูน ว่า เราทำเพิ่ม ขณะที่เรากำลังหากลไกการออกฤทธิ์ของสาร เซซามิน กับ เฮสเพอริดิน ที่มันไปลด PD-L1 แล้วเนี่ย เราก็ตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า ในขณะที่ doxorubicin ไปฆ่าเซลล์มะเร็งให้มันตายลง แต่เซลล์มะเร็งบางตัวบางสายพันธุ์ มันก็สามารถหลุดรอดไปได้ มันก็มีการแสดงออกของ PD-L1 มากขึ้น T-Cell เพชฌฆาตก็มาทำลายมันไม่ได้ มันก็ยังอาจจะทำให้เซลล์มะเร็งรุนแรงมากขึ้น แล้วก็มีภาวะของสิ่งที่เขาเรียกว่า recurrent กลับมาได้ ผมก็บอกว่า ลองกลับไปทำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็ดูสิว่าผลแล็ปจะเป็นอย่างไร
ตอนต่อไป ผมจะมาอัพเดทเกี่ยวกับผลทางเภสัชวิทยา (pharmacological synergistic effect) ของพฤกษเคมี (sesamin และ hesperidin) กับยาเคมีบำบัด (chemotherapeutic drugs) หรือยาคีโมที่ใช้ในการรักษามะเร็งในห้องแล็ปนะครับ
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
🙏 ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ
สอบถามสั่งซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพ
จากงานวิจัยของ ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ
☎️ 086 604 7044
Line: @baannumsai
คลิกเพื่อแอ๊ดไลน์ : https://line.me/R/ti/p/%40baannumsai
ดูข้อมูลเพิ่มเติม Sesamix-Z ได้ที่
http://baannumsai.com/th/what_is_sesamix-z/
⭐️หมายเหตุ
ติดตาม “เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า” ตอนที่ 1-5
ได้ที่ ลิงค์นี้ http://baannumsai.com/th/cancer-cells-are-very-goo-but-we-are-better/
“เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า” ตอนที่ 6
ได้ที่ ลิงค์นี้ http://baannumsai.com/th/cancer-cells-are-very-goo-but-we-are-better-series6
“เซลล์มะเร็งเก่งมากแต่เราเก่งกว่า” ตอนที่ 7
ได้ที่ ลิงค์นี้ http://baannumsai.com/th/cancer-cells-are-very-goo-but-we-are-better-series7